Pom Tanyanon
Availability Monitoring เพื่อเฝ้าระวังความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์สารสนเทศ
อัปเดตเมื่อ 20 ต.ค. 2564
ความสามารถในการทำ Availability Monitoring of Network Monitoring Tools คืออะไร เราจะนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลอุปกรณ์ในเน็ตเวิร์คได้อย่างไรบ้าง
ปัจจุบันความคงอยู่อย่างต่อเนื่องของอุปกรณ์สารสนเทศเพื่อให้บริการต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างสูงต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจขององค์กร องค์กรธุรกิจที่อุปกรณ์สารสนเทศทำงานได้บ้างไม่ได้บ้างหรือติด ๆ ดับ ๆ ส่งผลกระทบต่อตัวธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการเฝ้าระวังเพื่อทราบสถานะความคงอยู่ของอุปกรณ์สารสนเทศรวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แต่ละองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการ อันส่งผลให้องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยเหลือเพื่อตรวจสอบสถานะดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าว คือ เครื่องมือประเภท Network Management หรือ Network Monitoring Tools นั่นเอง
Availability คืออะไร
จากนิยามความหมายของ availability ข้างต้น เราพอจะพิจารณาได้ว่า availability คือ สิ่งที่ใช้เป็นตัวช่วยให้ธุรกิจทราบว่า IT system มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจหรือไม่มากน้อยเพียงใด เราสามารถใช้ availability เป็นข้อมูลตั้งต้นที่ใช้ประเมินศักยภาพทางด้าน IT ของธุรกิจนั้น ๆ ก่อนที่จะดำเนินการตัดสินใจด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์สำคัญ ๆ โดย Availability เป็นค่าที่คำนวณออกมาได้เป็นหน่วย % ซึ่งกรรมวิธีการคำนวณมีหลากหลายวิธี อย่างไรก็ตาม วิธีพื้นฐานที่นิยมมีลักษณะดังสมการนี้

Availability มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์หลักของค่า availability คือ การนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจสำคัญ ๆ ทางด้านกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับ IT system
จากประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ ของ availability จะเห็นได้ว่า ข้อมูล availability นั้นคงไม่สามารถได้มาจากการใช้มนุษย์เก็บข้อมูลแน่นอน เนื่องจากการเก็บข้อมูลต้องเก็บเป็น interval ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเป็นระยะเวลายาวนานเป็นวัน เป็นสัปดาห์ และเป็นเดือน จากนั้นยังต้องนำข้อมูลที่ได้มาแปลค่าที่เก็บได้ให้ออกมาเป็นค่า % availability อีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้ได้ข้อมูลดังกล่าว NMS จึงเป็นเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลและแสดงผล availability มากที่สุด เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบมาเพื่องานลักษณะนี้โดยเฉพาะ
NNMX เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับ monitor availability
ผลิตภัณฑ์ NNMX (NetkaView Network Manager X) เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Network Monitoring Tools ที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการตรวจสอบ availability ข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเสถียรของระบบค่อนข้างสูง สามารถเพิ่มขยายขีดความสามารถได้โดยง่ายเนื่องจากระบบออกแบบมาให้รองรับการทำงานในลักษณะ virtualization ทำงานบน hypervisor ได้หลากหลายค่าย สามารถจัดเก็บข้อมูล availability จาก IT system ได้แบบ multi-vendors จัดเก็บสถิติและแสดงผลการวิเคราะห์ค่า availability ได้ด้วยการแสดงผลที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ อีกทั้งยังแจ้งเตือนเมื่อค่าข้อมูลสถิติที่จัดเก็บและวิเคราะห์สอดคล้องกับเงื่อนไขที่ตั้งไว้ล่วงหน้า
จาก รูปที่ 2 จะเห็นได้ว่า NNMX เก็บข้อมูล Uptime ได้ 20 ชั่วโมงและ Downtime ได้ 4 ชั่วโมง ในวันที่ 31 October 2020 ซึ่ง NNMX วิเคราะห์แล้วพบว่า node ดังกล่าวคิดค่า availability ได้ 83.3% ซึ่งในรูปกราฟสีเขียวจะสังเกตเห็นว่ากราฟพื้นที่สีเขียวตกลงมาประมาณ 83.33% ดังนั้น node นี้อาจจะมีภาระงานสูงหรือเกิดคอขวดขึ้นที่ interface หรือเกิดในเครือข่ายในช่วงวันดังกล่าว หรือแม้แต่เครือข่ายอาจจะไม่สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งผลลัพธ์นี้จะเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาต่อไป

จาก รูปที่ 3 จะเห็นได้ว่า NNMX เก็บข้อมูล Uptime ได้ 20 ชั่วโมงและ Downtime ได้ 4 ชั่วโมง ในวันที่ 31 October 2020 ซึ่ง NNMX วิเคราะห์แล้วพบว่า interface ดังกล่าวคิดค่า availability ได้ 83.3% ซึ่งในรูปกราฟสีเขียวจะสังเกตเห็นว่ากราฟพื้นที่สีเขียวตกลงมาประมาณ 83.33% ดังนั้น interface นี้อาจจะเกิดคอขวดขึ้นที่ตัว interface ที่ฝั่งเดียวกันหรือที่ฝั่งตรงกันข้ามหรือเกิดในจุดอื่น ๆ ของเครือข่ายในช่วงวันดังกล่าว


ผลลัพธ์จากการตรวจจับเพื่อเฝ้าระวังด้านความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์สารสนเทศ (availability monitoring) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญด้านสารสนเทศในการสนับสนุนให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้โดยสะดวก นำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ IT system และปรับแผนการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับ IT environment ที่ปรากฏเพื่อขับเคลื่อนให้การดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือประเภท NMS ที่สามารถจัดเก็บรวบรวมและวิเคราะห์แปลผลที่ดี ซึ่งผลิตภัณฑ์ NNMX สามารถตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ
ผู้เขียนหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์เข้ากับองค์กรธุรกิจเพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- https://en.wikipedia.org/wiki/Availability
- https://en.wikipedia.org/wiki/Mean_time_between_failures
ป้อม ธัญญานนท์