top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนPom Tanyanon

การใช้ Network Tools ตรวจจับและแจ้งเตือนเมื่อสถานะของอุปกรณ์ในเน็ตเวิร์คเปลี่ยนแปลง

อัปเดตเมื่อ 20 ต.ค. 2564

fault alarm and up/down status alert by Network Tools การแจ้งเตือนการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ Network tools ต้องทำการแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบ


สถานะของอุปกรณ์เครือข่ายที่กำลังทำงาน (in operation) เป็นปกติ (up) นับว่ามีความสำคัญที่ช่วยให้ระบบสารสนเทศทำงานได้อย่างราบรื่น ที่สำคัญคือเมื่อสถานะของอุปกรณ์เครือข่ายเปลี่ยนแปลงไปจาก ปกติ (up) เป็นสถานะไม่ปกติ (down) อันส่งผลให้ระบบสารสนเทศเกิดอุปสรรคในการให้บริการ หากเราในฐานะผู้ดูแลระบบไม่ทราบว่าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวกับอุปกรณ์เครือข่ายและไม่ได้ดำเนินการแก้ไข ย่อมก่อให้เกิดผลเสียกับบริการสารสนเทศอย่างแน่นอน ผลเสียมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความสำคัญของอุปกรณ์เครือข่ายนั้น ๆ ว่าเป็นทางผ่านของข้อมูลสารสนเทศ (traffic) ประเภทใด ดังนั้น Network tools ที่สามารถแสดงสถานะของอุปกรณ์เครือข่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลระบบได้ทราบสถานะอันเป็นปัจจุบันอยู่เสมอและดำเนินการแก้ไขปัญหาหากพบภาวะความผิดปกติดังกล่าว


Up and Down คืออะไร

สถานะการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่า Up นั้น เป็นสถานะที่บ่งบอกให้ทราบว่าอุปกรณ์เครือข่ายกำลังทำงานอยู่ สามารถเข้าถึงได้ (accessible) เป็นสถานะพื้นฐานเบื้องต้นที่ใช้บ่งบอกว่าอุปกรณ์กำลังทำหน้าที่ให้บริการเป็นทางผ่านข้อมูลประเภทต่าง ๆ ด้านสารสนเทศตามปกติ


ขณะที่สถานะการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่ปกติ หรือที่เรีบกว่า Down เป็นสถานะที่ไม่สามารถระบุได้ว่าอุปกรณ์เครือข่ายดังกล่าวกำลังทำงานอยู่หรือไม่ และไม่สามารถเข้าถึงได้ (inaccessible) เป็นสถานะพื้นฐานเบื้องต้นที่ใช้บ่งบอกว่าอุปกรณ์ไม่สามารถให้บริการเป็นทางผ่านของข้อมูลได้


สถานะ Up กับ Down เป็นสถานะที่อยู่ตรงข้ามกัน โดยมีหลักพื้นฐานที่ใช้ในการตรวจสอบคือ การใช้ชุด protocol มาตรฐาน ICMP ในการตรวจจับสถานะ ซึ่งก็คือ ICMP – Echo Request และ ICMP – Echo Reply โดยมีการทำงานดังรูป


Source ใน รูปที่ 1 ส่ง ICMP Echo Request ไปยัง network device โดยก่อนส่งจะเก็บ timestamp ของ ICMP packet เอาไว้ จากนั้นเมื่อ network device ได้รับ ICMP Echo Request packet ตัวอุปกรณ์จะตอบกลับด้วย ICMP Echo Reply รวมถึง timestamp ขณะที่ได้รับ request packet ไปยัง source จากนั้นเมื่อ source ได้รับ ICMP Echo Reply จาก network device ก็จะบันทึก timestamp ที่ได้รับ และกำหนดสถานะ Up ของ network device ดังกล่าว อีกทั้งยังตรวจสอบ timestamp ที่ network device ส่งออกมาด้วย ส่งผลให้ source ทราบระยะเวลาที่ ICMP Echo Request ใช้ในการเดินทาง รวมถึงระยะเวลาที่ ICMP Echo Reply เดินทางจาก network device กลับมายัง source


ด้วยข้อมูลนี้หาก source ส่ง request packet ออกไปแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (time out) source ก็จะใช้ข้อมูลนี้ในการกำหนดสถานะ Down ให้กับ network device ได้เช่นกัน


จะเห็นได้ว่าการใช้ ICMP Echo Request และ ICMP Echo Reply ในการตรวจสอบและระบุสถานะของอุปกรณ์เครือข่ายนั้นทำได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม การที่จะดำเนินการตรวจสอบสถานะดังกล่าวนั้น ควรจะต้องทำเป็นระยะ ๆ เช่น ทุก ๆ 5 นาที อีกทั้งโดยส่วนใหญ่อุปกรณ์เครือข่ายมิได้มีเพียงอุปกรณ์เดียวซึ่งส่งผลให้การดำเนินการโดยมนุษย์ไม่ไช่เรื่องง่ายเช่นกัน


NetkaView Network Manager X หรือ NNMX เป็น Network Management Tool ที่สามารถช่วยแบ่งเบาภาระงานดังกล่าวให้เป็นเรื่องง่าย อีกทั้งยังแสดงผลสถานะของอุปกรณ์เครือข่ายให้อยู่ในรูปแบบ diagram ระบุสถานะ Up และ Down ให้สามารถเข้าใจได้โดยง่ายโดยใช้สีเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนในการแสดงผล โดยสีเขียว หมายถึง สถานะ Up และ สีแดง หมายถึง สถานะ Down ดัง รูปที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ผู้ดูแลระบบทราบปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและรู้จุดที่เกิดปัญหาอย่างรวดเร็ว แก้ไขปัญหาได้ทันการณ์



รูปที่ 2 แสดงสถานะอุปกรณ์เครือข่าย Up ด้วยสีเขียว และ Down ด้วยสีแดง


นอกจากนี้ NNMX ยังสามารถนำข้อมูลสถานะ Up และ Down ของอุปกรณ์เครือข่ายจัดทำเป็นรายงานแสดงสถานะที่ตรวจสอบในช่วงเวลาต่าง ๆ ดังใน รูปที่ 3 ซึ่งช่วยให้ผู้ดูแลระบบทราบสถานะย้อนหลังของอุปกรณ์เครือข่ายได้โดยง่าย


สถานะ Up และ Down ของอุปกรณ์เครือข่ายมีความสำคัญอย่างสูงในการทำให้ระบบสารสนเทศทำงานได้อย่างราบรื่น แต่เมื่อใดที่อุปกรณ์เครือข่ายเกิดเปลี่ยนแปลงสถานะแต่ผู้ดูแลไม่ทราบจะส่งผลให้ระบบสารสนเทศเกิดปัญหาได้ NNMX เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การตรวจสอบและระบุสถานะดังกล่าวสามารถทำได้โดยอัตโนมัติภายในกรอบเวลาที่พอเหมาะตามที่ผู้ดูแลระบบต้องการ การแสดงผลในลักษณะที่เข้าใจง่าย ทราบได้อย่างรวดเร็วว่าปัญหาเกิดกับอุปกรณ์เครือข่ายใด และมีรายงานให้ตรวจสอบย้อนหลังได้อีกด้วย


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- https://netkasystem.com/

- https://tools.ietf.org/html/rfc792

- https://tools.ietf.org/html/rfc1122

- https://tools.ietf.org/html/rfc1716

- https://en.wikipedia.org/wiki/Internet_Control_Message_Protocol

ป้อม ธัญญานนท์





ดู 314 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page